"The secret of success in life is to be ready for your opportunity when it comes."
ความลับของความสำเร็จคือเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอสำหรับโอกาสที่มาถึง
ความลับของความสำเร็จคือเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอสำหรับโอกาสที่มาถึง
วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
นิลุบล หรือ ผักอีฮีน
"ผักเขียด" มีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ทางภาคเหนือว่า ผักผักฮิ้นน้ำ ทางอีสานเรียกว่า ผักอีฮิน อีสาน,อุดรธานีเรียกว่า ผักอีฮินใหญ่ ทางภาคกลางเรียก ผักเขียด ผักขาเขียด ชลบุรีเรียก ผักฮิน ผักเป็ด อุบลราชธานีเรียก ผักฮิ้น ผักริ้น ผักริ้นน้ำ และผักฮิ้น ผักเขียดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โมโนคลอเรีย วาจินาลิส (Monochoria vaginalis Presl var. plantaginea solms) จัดอยู่ในวงศ์พอนทิดิเรียซีอี้(PONTEDERIACEAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ผักเขียดเป็นไม้น้ำขึ้นเองตามธรรมชาติ มีอายุหนึ่งปี มีความสูงต้น 5-35 ซม. บางแห่งจัดเป็นวัชพืชน้ำ ที่สามารถดำรงชีวิตเป็นพืชหลายฤดูได้ ลำต้นตั้งตรงมีเหง้าอยู่ใต้ดิน และลำต้นใต้ดินสั้นมาก ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นนั้นคือส่วนของก้านใบที่อัดรวมกันแน่น เมื่อเจริญเติบโตในน้ำจะมีไหลสั้นๆ และมีรากฝอยสีน้ำตาลแดงจำนวนมาก รากหยั่งลงดิน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะใบเป็นรูปหัวใจออกจากโคนต้นแบบสลับกัน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนมัน ที่โคนใบมีสีเขียวอ่อน ก้านใบยาวประมาณ 10-25 ซม. มีรูปร่างค่อนข้างกลมและอวบน้ำ ภายในกลวง โคนก้านใบแผ่ออกเป็นกาบหุ้มใบที่อ่อนกว่า ด้านบนของก้านใบมีเยื่อบางๆสีขาวใบมีความยาวประมาณ 9-85 มม. ดอกเป็นดอกช่อแบบสไปร์ค ออกตรงกลางก้านใบ และมีใบประดับเขียวอ่อนคล้ายใบ ห่อหุ้มดอกในขณะที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ดอกย่อยมี 6-15 ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth) มี 6 กลีบ กลีบดอกมีสีม่วงอมน้ำเงิน หรือสีฟ้า ปลายกลีบโค้งมน แต่ละกลีบแยกออกจากกัน ด้านหลังกลีบดอกมีสีเขียวอ่อนๆ ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วง 6 อันกลีบดอกมี 6 กลีบ ผล มีลักษณะเป็นแคปซูล ยาวประมาณ 1 ซม. ผลจะแตกเมื่อแก่โดยแตกตามยาวออกเป็น 3 ซีก มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก
การปลูกผักเขียด เนื่องจากผักเขียดเป็นไม้น้ำ พบได้ทุกภาคของเมืองไทย ในช่วงลงนา (หรือประมาณเดือน 7 ถึง เดือน 8) พบมากในบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว หนองน้ำ คลอง บึง เป็นต้น จึงปลูกผักเขียดได้โดยการใช้ต้นอ่อนปลูก
ประโยชน์ทางอาหาร ใช้ประโยชน์จากส่วนที่เป็นผักตามฤดูกาลดังนี้
ยอดอ่อนใบอ่อนและดอกใช้รับประทานเป็นผัก ยอด่ออน ใบอ่อน และดอกจะออกในช่วงหน้าฝน ชาวบ้านเล่าว่า ในช่วงลงนาจะมีผักแว่น ผักเขียดออก ผักเขียดนิยมรับประทานช่วงยังอ่อนโดยถอนทั้งต้น มักเก็บรับประทานช่วง 2—3 อาทิตย์แรกเท่านั้น หลังจากนั้นต้นจะแก่ รับประทานไม่อร่อย ชาวไทยทุกภาคนิยมรับประทานผักเขียดเป็นอาหารในรูปของผัก สำหรับวิธีรับประทานเป็นอาหาร จะรับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือกับแกงรสจัดของภาคใต้ หรืออาหารรสจัดประเภท ลาบ ยำ ก้อย ส้มตำได้ นอกจากนี้ยังนำไปแกงส้ม แกงกับปลา หรือเนื้อหมูก็ได้
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ ผักเขียดมีรสจืด เย็น จึงเหมาะที่จะรับประทานเพื่อลดความร้อนในร่างหาย ผักเขียด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 13 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 0.8 กรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 6 มิลลิกรัม เหล็ก 2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 3000 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.10 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 18 มิลลิกรัม
ประโยชน์ทางยา
ใบของผักเขียด นำมาคั้นน้ำรับประทาน แก้ไอ ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี หรือรับประทานใบสดจะมีสรรพคุณ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ผักเขียดเป็นไม้น้ำขึ้นเองตามธรรมชาติ มีอายุหนึ่งปี มีความสูงต้น 5-35 ซม. บางแห่งจัดเป็นวัชพืชน้ำ ที่สามารถดำรงชีวิตเป็นพืชหลายฤดูได้ ลำต้นตั้งตรงมีเหง้าอยู่ใต้ดิน และลำต้นใต้ดินสั้นมาก ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นนั้นคือส่วนของก้านใบที่อัดรวมกันแน่น เมื่อเจริญเติบโตในน้ำจะมีไหลสั้นๆ และมีรากฝอยสีน้ำตาลแดงจำนวนมาก รากหยั่งลงดิน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะใบเป็นรูปหัวใจออกจากโคนต้นแบบสลับกัน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนมัน ที่โคนใบมีสีเขียวอ่อน ก้านใบยาวประมาณ 10-25 ซม. มีรูปร่างค่อนข้างกลมและอวบน้ำ ภายในกลวง โคนก้านใบแผ่ออกเป็นกาบหุ้มใบที่อ่อนกว่า ด้านบนของก้านใบมีเยื่อบางๆสีขาวใบมีความยาวประมาณ 9-85 มม. ดอกเป็นดอกช่อแบบสไปร์ค ออกตรงกลางก้านใบ และมีใบประดับเขียวอ่อนคล้ายใบ ห่อหุ้มดอกในขณะที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ดอกย่อยมี 6-15 ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth) มี 6 กลีบ กลีบดอกมีสีม่วงอมน้ำเงิน หรือสีฟ้า ปลายกลีบโค้งมน แต่ละกลีบแยกออกจากกัน ด้านหลังกลีบดอกมีสีเขียวอ่อนๆ ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วง 6 อันกลีบดอกมี 6 กลีบ ผล มีลักษณะเป็นแคปซูล ยาวประมาณ 1 ซม. ผลจะแตกเมื่อแก่โดยแตกตามยาวออกเป็น 3 ซีก มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก
การปลูกผักเขียด เนื่องจากผักเขียดเป็นไม้น้ำ พบได้ทุกภาคของเมืองไทย ในช่วงลงนา (หรือประมาณเดือน 7 ถึง เดือน 8) พบมากในบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว หนองน้ำ คลอง บึง เป็นต้น จึงปลูกผักเขียดได้โดยการใช้ต้นอ่อนปลูก
ประโยชน์ทางอาหาร ใช้ประโยชน์จากส่วนที่เป็นผักตามฤดูกาลดังนี้
ยอดอ่อนใบอ่อนและดอกใช้รับประทานเป็นผัก ยอด่ออน ใบอ่อน และดอกจะออกในช่วงหน้าฝน ชาวบ้านเล่าว่า ในช่วงลงนาจะมีผักแว่น ผักเขียดออก ผักเขียดนิยมรับประทานช่วงยังอ่อนโดยถอนทั้งต้น มักเก็บรับประทานช่วง 2—3 อาทิตย์แรกเท่านั้น หลังจากนั้นต้นจะแก่ รับประทานไม่อร่อย ชาวไทยทุกภาคนิยมรับประทานผักเขียดเป็นอาหารในรูปของผัก สำหรับวิธีรับประทานเป็นอาหาร จะรับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือกับแกงรสจัดของภาคใต้ หรืออาหารรสจัดประเภท ลาบ ยำ ก้อย ส้มตำได้ นอกจากนี้ยังนำไปแกงส้ม แกงกับปลา หรือเนื้อหมูก็ได้
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ ผักเขียดมีรสจืด เย็น จึงเหมาะที่จะรับประทานเพื่อลดความร้อนในร่างหาย ผักเขียด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 13 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 0.8 กรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 6 มิลลิกรัม เหล็ก 2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 3000 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.10 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 18 มิลลิกรัม
ประโยชน์ทางยา
ใบของผักเขียด นำมาคั้นน้ำรับประทาน แก้ไอ ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี หรือรับประทานใบสดจะมีสรรพคุณ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย
วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
หมากกี่โก่ยหรือองุ่นป่า
หมากกี่โก่ยหรือองุ่นป่า
หมากกี่โก่ยหรือองุ่นป่า
ชื่อสามัญ Common name : องุ่นป่า , เถาเปรี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciencetific name : Ampelocissus martinii Planch. ชื่อวงศ์ Family name: VITACEAE (VITIDACEAE) ชื่ออื่น Other name: เครืออีโกย (อีสาน) กุ่ย (อุบล) เถาวัลย์ขน (ราชบุรี) ส้มกุ้ง (ประจวบฯ)ตะเปียงจู องุ่นป่า (สุรินทร์)
ชื่อสามัญ Common name : องุ่นป่า , เถาเปรี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciencetific name : Ampelocissus martinii Planch. ชื่อวงศ์ Family name: VITACEAE (VITIDACEAE) ชื่ออื่น Other name: เครืออีโกย (อีสาน) กุ่ย (อุบล) เถาวัลย์ขน (ราชบุรี) ส้มกุ้ง (ประจวบฯ)ตะเปียงจู องุ่นป่า (สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป : ไม้เลื้อยล้มลุก หลายฤดู ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ใบ เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น 5 พู ผิว ใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม (glandularhair )ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ออกเป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน กลีบดอก 4 กลีบ การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น เถาจะงอกในช่วงฤดูฝน ประโยชน์และความสำคัญ ทางอาหาร ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว ผลอ่อนต้มตำน้ำพริก หรือใส่ส้มตำ เพราะมีรสเปรี้ยว ถ้ารับประทานดอกมากจะทำให้ระคายคอ ชาวบ้านจะจิ้มเกลือก่อน รับประทานจะลดอาการระคายคอหรือนำผลสุกมาตำใส่ส้มตำ ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
นอกจากนี้จาก คุณสมบัติที่ทนทานและหากินเก่งขององุ่นป่าจึงมีการนำมาเป็นต้นตอขององุ่น พันธุ์ต่างๆ ซึ่งก็จะช่วยให้องุ่นป่าของเราไม่สูญพันธุ์ไป
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ รากฝนดื่มแก้ไข้ ผสมลำต้นหรือรากรสสุคนธ์ เหง้าสัปปะรด ลำต้นไผ่ป่า ลำต้นไผ่ตง งวงตาล เปลือกต้นสะแกแสง ลำต้นหรือรากเถาคันขาว ผลมะพร้าว ลำต้นรักดำ ลำต้นก้อม ลำต้นโพ หญ้างวงช้างทั้งต้น รากกระตังบาย เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรม รากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้าหัวยาข้าวเย็นโคก และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม รักษาฝีแก้อาการบวมhttp://www.infoforthai.com/forum/index.php?topic=1767.0
วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
จุดหมายปลายทาง
"ปลายทางที่มืดมิด ย่อมจะมีแสงสว่าง"
เหมือนกับที่เราอยู่ในที่มืด แรก ๆ เรายังมองไม่เห็นอะไร
แต่พอนานเข้า จะชินกับความมืดนั้น ทำให้มองเห็นสิ่งที่อยู่
รอบตัวเรา ก็เหมือนกับคนที่สิ้นหวัง คิดว่าไม่มีหนทาง แต่ในความ
สิ้นหวังนั้น ถ้าเรายังไม่ท้อ มันก็ยังมีทางออกของปัญหา
เหมือนกับที่เราอยู่ในที่มืด แรก ๆ เรายังมองไม่เห็นอะไร
แต่พอนานเข้า จะชินกับความมืดนั้น ทำให้มองเห็นสิ่งที่อยู่
รอบตัวเรา ก็เหมือนกับคนที่สิ้นหวัง คิดว่าไม่มีหนทาง แต่ในความ
สิ้นหวังนั้น ถ้าเรายังไม่ท้อ มันก็ยังมีทางออกของปัญหา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)